วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อสอบเคมีม.6

                                                               เรื่อง เซลล์อิเล็กโทรไลต์

1. ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์จากการนำเซลล์อิเล็กโทรไลต์มาประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม

ก . การชุบโลหะ

ข . การเจียระไนเพชร

ค . การแยกสารละลายเกลือ

ง . การถลุง หรือการแยกแร่

 ตอบข้อ ข.

2. อิเล็กโทรไลต์ คือ

ก. สารที่สามารถแตกตัวเป็นไอออนอิสระเมื่อละลายน้ำหรือหลอมเหลว

ข. สารเคมีที่มีประสิทธิภาพการทำลายล้างสูง

ค. สารที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ได้อย่างรุนแรง

ง. ไม่มีข้อใดถูก

  ตอบข้อ ก.

3. การทำให้โลหะชนิดหนึ่งเคลือบอยู่บนผิวของโลหะอีกชนิดหนึ่งเรียกว่าอะไร

ก. การชุบโลหะด้วยโลหะ

ข . การชุบโลหะด้วยกระแสไฟฟ้า

ค . การเคลือบโลหะด้วยโลหะ

ง . การเคลือบโลหะด้วยกระแสไฟฟ้า

  ตอบข้อ ข.

4. เพราะเหตุใดโลหะทองแดงที่ได้จากการถลุงสินแร่จึงสามารถนำไฟฟ้าได้น้อย

 ก. เพราะมีราคาถูก

 ข. เพราะมีความหนาแน่นของมวลสารมาก

 ค. เพราะมีความบริสุทธิ์น้อย และมีสิ่งอื่นเจือปน

 ง. เพราะเป็นโลหะที่มีความบริสุทธิ์มาก

  ตอบข้อ ค.

5. การทำโลหะทองแดงให้บริสุทธิ์ ทำได้โดยการนำทองแดงไม่บริสุทธิ์ไปต่อเป็นขั้วแอโนด และใช้ทองแดงบริสุทธิ์เป็นขั้วแคโทด โดยขั้วไฟฟ้าทั้งสองอยู่ในสารละลายผสมของสารละลายใด

 ก. H2SO4 กับ ZnSO4

 ข. HCI กับ CuSO4

 ค. ZnSO4 กับ HCI

 ง. CuSO4 กับ H2SO4

   ตอบข้อ ง.

6. วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตโลหะแมกนีเซียม คือ

 ก. น้ำเปล่า

 ข. น้ำกรด

 ค. น้ำคลอง

 ง. น้ำทะเล

  ตอบข้อ ง.

7. การทำโลหะให้มีสภาวะเป็นแคโทด หรือคล้ายแคโทด โดยพันโลหะที่ไม่ต้องการให้เกิดสนิมด้วยโลหะที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่า เรียกว่าวิธีการใด

 ก. แคโทดิวซ์

 ข. แอโนดิวซ์

 ค. แคโทดิก

 ง. แอโนดิก

  ตอบข้อ ค.

8. แบตเตอรี่อะลูมิเนียม-อากาศที่ใช้ในโลหะอะลูมิเนียมเป็นแอโนด เมื่อต่อเซลล์โลหะอะลูมิเนียมจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน คือ

 ก. Mg2+

 ข. Al3+

 ค. Fe2+

 ง. Zn2+

  ตอบข้อ ข.

9. การผลิตโลหะอะลูมิเนียมทำได้กี่วิธี

 ก. 1 วิธี

 ข. 2 วิธี

 ค. 3 วิธี

 ง. 4 วิธี

 ตอบข้อ ข.

10. เพราะเหตุใดโลหะบางชิด เช่น อะลูมิเนียม โครเมียม เมื่อโดนน้ำจึงไม่เกิดการผุกร่อน

 ก. เพราะเมื่อโลหะชนิดนี้ทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนในอากาศจะเกิดออกไซด์ของโลหะเคลือบบนผิวของโลหะนั้น และจับผิวแน่น ทำให้ผิวด้านในไม่สัมผัสกับน้ำและแก๊สออกซิเจน

 ข. เพราะนำโลหะไปเคลือบเกลือโครเมตซึ่งมีสารยับยั้งการผุกร่อน

 ค. เพราะโลหะชนิดนี้มีความแข็งแรง และมีประสิทธิภาพในการป้องกันการผุกร่อน

 ง. ถูกทุกข้อ

  ตอบข้อ ก.
     

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อสอบเคมีม.6

                                                                    เรื่อง อุตสาหกรรมแร่

1.ข้อใดเป็แร่ที่แบ่งตามประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
  ก. แร่ประกอบหิน
  ข. แร่อุตสาหกรรม
  ค. แร่เชื้อเพลิง
  ง. ถูกทั้งก. และ ข.
   ตอบข้อ ง.

2. แร่ชนิดใดที่สามารถนำมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการถลุง
   ก. เหล็ก
   ข. ดีบุก
   ค. ควอตซ์
   ง. สังกะสี
    ตอบข้อ ค.

3. สารประกอบชนิดใดที่ใช้ในการถลุงแร่
   ก. ถ่านพีต
   ข. ถ่านหินลิกไนต์
   ค. ถ่านโค้ก
   ง. ถ่านแอนทราไซต์
    ตอบข้อ ค.

4. แร่ที่จะนำไปใช้ได้จะต้องผ่านกรรมวิธีถลุงเสียก่อน คือ
   ก. เพชร ทองแดง เหล็ก
   ข. ดีบุก ปูนขาว ยิบซัม
   ค. เพชร ไพลิน รัตนชาติ
   ง. เหล็ก ทองแดง ดีบุก
     ตอบข้อ ง.

5. ถ้านำแร่แคสซิเทอไรต์มาถลุงจะได้อะไร
   ก. ดีบุก
   ข. สังกะสี
   ค. ทองแดง
   ง. ตะกั่ว
     ตอบข้อ ก.

6. สังกะสีที่พบมากที่สุดในโลกมีชื่อว่าอย่างไร
   ก. แร่ซิงไคต์
   ข. แร่แฮมิเมอร์ไฟต์
   ค. แร่สฟาเลอไรต์
   ง. แร่สมิทซอไนต์
     ตอบข้อ ค.

7. การผลิตสังกะสีจะมีกากของเสียที่มีพิษคือสารใด
   ก. ถ่าน
   ข. กากคาร์บอน
   ค. กากซิลิกอน
   ง. กากแคดเมียม
     ตอบข้อ ง.

8. เกลือแกงเป็นวัตถุดิบที่สำคัญชนิดหนึ่ง ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมประเภทใดมากที่สุด
   ก. โรงงานผลิตผงชูรส
   ข. โรงงานผลิตพลาสติก
   ค. โรงงานผลิตโซดาไฟ
   ง. โรงงานผลิตผงซักฟอก
     ตอบข้อ ค.

9. การตั้งโรงงานผลิตแทนทาลัมจะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร
   ก. น้ำเสีย
   ข. อากาศเป็นพิษ
   ค. ดินเสื่อมและมีกากกัมมัตรังสีปนอยู่ด้าย
   ง. ถูกทุกข้อ
     ตอบข้อ ง.

10. สาร MTBK มีชื่อเต็มว่าอะไร
     ก. เมธิลไอโซบิวทิลคีโตน
     ข. เมธิลโพรพิลีนคีโตน
     ค. เมธิลไอโอดีนคีโตน
     ง. เมธิลโซบิลคีโตน
       ตอบข้อ ก.

ตอบคำถามฟิสิกส์ม.6

                                                                             คำถาม
 เมื่อนักเรียนได้สืบค้นข้อมูลจาก website แล้ว ให้ตอบคำถามต่อไปนี้
1. อธิบายว่าอะไรเป็นสาเหตุให้เกิดฟ้าผ่า หลักการของประจุชนิดต่างกันทำให้เกิดฟ้าผ่าได้หรือไม่ อย่างไร

2. อธิบายว่าแสงที่เกิดขึ้นขณะฟ้าผ่า ว่าเดินทางจากเมฆลงมายังพื้นดิน หรือจากพื้นดินขึ้นไปบนท้องฟ้า

3. วาด diagram แสดงอิเล็กตรอนบนก้อนเมฆ และที่พื้นดิน


4. ในระหว่างที่เกิดฟ้าผ่า นักเรียนควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ บอกมา 3 ประการ

5. เพราะเหตุใดนักเรียนจึงไม่ควรอยู่ในน้ำในขณะที่เกิดฟ้าผ่า

6. ให้นักเรียนยกตัวอย่างผลของไฟฟ้าสถิตที่มีในชีวิตประจำวันมาสัก 5 ตัวอย่าง

7. อธิบายว่าอิเล็กโทรสโคปสามารถใช้ตรวจสอบไฟฟ้าสถิตได้อย่างไร

8. เพราะเหตุใดจึงไม่ใช้โลหะเป็นตัวทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต

9. ยกตัวอย่างประโยชน์ของไฟฟ้าสถิตมาสัก 5 ตัวอย่าง

10.อธิบายว่าสามารถใช้หลักการเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าสถิตในการควบคุมมลพิษทางอากาศได้อย่างไร
                                                                          คำตอบ


1.ฟ้าผ่าเกิดจากความไม่สมดุลของอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศโลก เป็นปรากฏการณ์หนึ่งของการ convection หรือการที่อากาศใกล้พื้นผิวโลกร้อนขึ้น หรืออากาศเย็นที่อยู่เหนือขึ้นไปเริ่มร้อนขึ้น ดังนั้นอากาศที่เบาบางกว่าที่อยู่ใต้อากาศที่เย็นกว่าก็จะเริ่มหนาแน่นขึ้น
 
2. เดินทางจากเมฆลงมายังพื้นดิน โดยเทประจุลงมา
 
3.
 
4. ปิดโทรทัศน์ >> ถ้าฟ้าผ่าเปรี้ยงๆ ควรที่จะรีบปิดโทรทัศน์ทันที เพราะเสาอากาศเป็นตัวนำไฟฟ้าอย่างหนึ่ง ถ้าเสาอากาศถูกฟ้าผ่า กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้ามาในโทรทัศน์ทำให้ระเบิดได้ 2. ไม่เดินอยู่บนทางโล่งแจ้ง หรือใต้ต้นไม้ใหญ่ 3. ไม่นำทองแดงมาเล่น หรือสวมคอ
 
5.เนื่องจากน้ำอมความร้อนได้ดีมากจนคายออกมาน้อยมาก อากาศเหนือพื้นจึงไม่ได้ร้อนมาก เมื่อไม่มีกระแสอากาศร้อนติดพื้น ก็ไม่ค่อยมีการก่อเมฆฝน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดฟ้าผ่า ประชากรในประเทศเกาะในมหาสมุทร มักจะไม่เจอปรากฏการณ์ฟ้าผ่ามากเท่าใด


6. ใช้ในเป็นเครื่องมือต่างๆ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร Printer plotter เครื่องตัดผ้าในโรงงานอุตสาหกรรม และ เครื่องพ่นสี

8. ไฟฟ้าสถิตมันเกิดกับวัตถุที่เป็นฉนวนเท่านั้น โลหะมิได้เป็นตัวนำแต่ประการใด

7.เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบประจุไฟฟ้าสถิตที่มีจำนวนปริมาณน้อยๆ

9.---1.การดูดน้ำใต้ดิน

2. เครื่องพิมพ์เลเซอร์

3. ทางด้านการแพทย์เพื่อประดิษฐ์เส้นใยนาโน

4. การทำกระดาษทราย

5. การกรองฝุ่นและเขม่าออกจากควันไฟ

10. การควบคุมมลพิษทางอากาศ(Air Pollution Control) การเก็บฝุ่นโดยอาศัยหลักการกรอง
 
(Filter) ด้วยเครื่องจับอนุภาคด้วยไฟฟ้าสถิต ซึ่งปัจจุบัน ใช้อย่างแพร่หลาย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.google.com